พระครูวิมุตยาภรณ์ (หลวงพ่อเกิด) วัดโพธิ์แทน ต.โพธิ์แทน อ.องครักษ์ จ.นครนายก
ท่าน มีนามเดิมว่า เกิด ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด ตำบลบางปลากด ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก เป็นลูกชายคนที่ 6 ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์ นามสกุล อินทร์ศิริ ในจำนวนพี่น้อง 11 คน ผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 5 คน เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ 17 ปี จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
เนื่องจากว่าท่านนั้น เป็นผู้ใฝ่ใจการเรียนรู้ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อน ข้างยาก ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้นก็หายากพอๆกับเดินหาเข็มบนผืนทรายใต้ทะเลที เดียว แม้บ้านโพธิ์แทนจะอยู่ห่างจากเมืองกรุงแค่มือเอื้อม แต่การไปมาในยุค 70-80 ปีก่อน คมนาคมที่ยังต้องพึ่งเรือและช้างม้าวัวควายเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้าน ที่ไกลปืนเที่ยงเอาการอยู่เหมือนกัน
การศึกษาในสายพระเวทย์หรือวิชา อาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จาก พระอาจารย์หม่น ที่วัดโพธิ์แทน นั่นเอง ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาบทออกไป จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างให้ท่านไว้ ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่ 5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
ท่าน มีนามเดิมว่า เกิด ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด ตำบลบางปลากด ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก เป็นลูกชายคนที่ 6 ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์ นามสกุล อินทร์ศิริ ในจำนวนพี่น้อง 11 คน ผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 5 คน เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ 17 ปี จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
เนื่องจากว่าท่านนั้น เป็นผู้ใฝ่ใจการเรียนรู้ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อน ข้างยาก ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้นก็หายากพอๆกับเดินหาเข็มบนผืนทรายใต้ทะเลที เดียว แม้บ้านโพธิ์แทนจะอยู่ห่างจากเมืองกรุงแค่มือเอื้อม แต่การไปมาในยุค 70-80 ปีก่อน คมนาคมที่ยังต้องพึ่งเรือและช้างม้าวัวควายเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้าน ที่ไกลปืนเที่ยงเอาการอยู่เหมือนกัน
การศึกษาในสายพระเวทย์หรือวิชา อาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จาก พระอาจารย์หม่น ที่วัดโพธิ์แทน นั่นเอง ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาบทออกไป จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างให้ท่านไว้ ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่ 5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
อ้างอิงจาก http://www.lanpothai.com/prakaeji/east-west-central/565-luang-por-kerd.html