วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดถ้ำสาริกา

วัดถ้ำสาริกา ตั้งอยู่ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก ทางไปน้ำตกสาริกา อยู่ทางซ้ายมือ มีบันไดขึ้นไปบนเขา สมัยก่อนหลวงปู่มั่น ปริสุทโธ เคยธุดงค์มานั่งกรรมฐาน ที่ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆหรือซอกหินที่อยู่ด้านบน เกือบจะยอดเขาเลยก็ว่าได้



 ถ้ำที่หลวงปูมั่นนั่งกรรมฐาน
 

 

 
 ภาพพระธาตุหลวงปู่มั่น


มีหินเสี่ยงทายด้วย ถ้าจะประสบผลสำเร็จตามที่อธิษฐานก็จะยกขึ้นได้อย่างง่ายดาย 

 อัฐิหรือพระธาตุของหลวงปู่มั่นที่เป็นพระธาตุแล้ว


ทางขึ้นบันไดให้ลูกชายนับ นับได้ 240 กว่าขั้นไว้วันหลังเดี๋ยวไปนับใหม่



 

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นไม้มงคล ,ดอกไม้มงคล,ไม้ดอก ไม้ประดับ: รอยพญานาค วัดโพธิ์แทน

ต้นไม้มงคล ,ดอกไม้มงคล,ไม้ดอก ไม้ประดับ: รอยพญานาค วัดโพธิ์แทน: รอยพญานาค ปรากฎขึ้นเกือบจะทุกที่ ทุกเวลา ไม่เว้นแม้แต่บ้าน หรือวัด คราวนี้มาเกิดที่วัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จ.นครนายก ซึ่งมีเจ้าอาวาสค...

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวในจังวัดนครนายก



ข้อมูล สถานที่ท้องเที่ยว


เริ่มจากวัดก่อนก็แล้วกันเผื่อใครสนใจไหว้พระ 9 วัด

  1. รอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวช
    อยู่ ในมณฑปบนยอดเขานางบวช ตั้งอยู่ในที่ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก  เขานางบวชสูงประมาณ 100 เมตร มีบันไดคอนกรีตจากเชิงเขาถึงมณฑป 227 ขั้น รอยพระพุทธบาทนี้สร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2401จะมีงานเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทในกลางเดือน 5 ของทุกปี
  2. วัดถ้ำสาริกา
    ตั้งอยู่ใกล้กล้เคียงกับน้ำตกสาริกา เป็นสถานที่ที่อาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เคยมาบำเพ็ญศาสนธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2460-2463
  3. วัดพระพุทธฉาย
    ตั้ง อยู่ที่เขาชะโงกในบริเวณโรงเรียนนายร้อยจปร. ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก เป็นภาพเขียน ติดอยู่กัชะโงกผาบนภูเขาเตี้ยๆ พระพุทธฉายนี้ประวัติเดิมไม่เคยปรากฏ เล่าต่อกันมาว่าสภาพเดิมเป็นภาพพระพุทธรูปราง ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 กรมแผนที่ทหารบกได้เข้าไป ตั้งโรงงานหินอ่อน ที่เชิงเขานี้และ ได้เขียนตามรอยพระพุทธรูปเดิมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นราษฎรบริเวณนั้น นับถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายกทุกกลาง เดือน 3 จะมีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี
  4. พระแก้วมรกตองค์จำลอง จังหวัดนครนายก
    ประดิษฐาน อยู่ในพระวิหารบนยอดเขา ณ วัดคีรีวัน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่บนถนนสายนครนายก ท่าด่านอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร พระแก้วองค์จำลองนี้มีเนื้อเป็นเรซิ่น ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 32.9 นิ้ว หนัก 1 ตัน และมีเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดู ประดับตกแต่งด้วยเพชรแท้ 7 กะรัตพลอยแท้2,000กว่าเม็ดและทับทิมอีกนับไม่ถ้วน การเดินทาง จากกรุงเทพ ฯ ( ทางหลวงหมายเลข 305 หรือ 33) - นครนายก ใช้ถนนหมายเลข 3049 นครนายก นางรอง
  5. หลวงพ่อปากแดง วัดพราหมณี ไหว้หลวงพ่อปากแดงศักดิ์สิทธิ์  443  ปี จากเวียงจันทน์ ที่วัดพราหมณี นครนายก วัดพราหมณี ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน จ.นครนายก  สร้างขึ้น
  6.     วัดประสิทธิเวช หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า วัดเก่า หรือ วัดบางปลากด เพราะสมัยแรกชื่อจริงชื่อ วัดบางปรากฏ ตามชื่อหมู่บ้าน แล้วมาเปลี่ยนทีหลังว่า วัดประสิทธิเวช เปลี่ยนเมื่อ พ.ศ.ใด ไม่ทราบ ไม่มีหลักฐาน  ปัจจุบันวัดประสิทธิเวช ตั้งอยู่หมู่ ๑๐ ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ.นครนายก ในเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๓ งาน ๓๕ ตารางวา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอองครักษ์ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๒๓๓
  7. วัดโพธิ์แทน  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ตั้งเมื่อ พ.ศ.2450  บนเนื้อที่ 12 ไร่ 50 ตาราวา  โดยมีนายเล็ก  รักคุณ เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และเป็นผู้นำชาวบ้านในการก่อสร้าง  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2492  มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ  สร้างเมื่อพ.ศ.2492  ศาลาการเปรียญ  สร้างเมื่อ พ.ศ.2506  หอสวดมนต์  สร้างเมื่อ พ.ศ.2512  กุฏิสงฆ์  จำนวน 12 หลัง  ศาลาบำเพ็ญกุศล  จำนวน 1 หลัง  ปูชนียวัตถุ  มีพระประธานในอุโบสถ  รอยพระพุทธบาท(จำลอง) และเจดีย์   มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2485
  8. วัดเขาทุเรียน ตั้งอยู่ที่ ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก สร้างขึ้นโดยชาวมอญ บูรณปฏิสังขรณ์โดยกลุ่มชนชาวลาวเวียงจันทน์ ที่อพยพเข้ามาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จดทะเบียนสร้างวัดเมื่อปี 2330 ครั้งแรกชื่อว่า "วัดหัวเขา" เนื่องเพราะวัดอยู่ตรงกับส่วนหัวของพื้นที่เขา ซึ่งติดต่อกันหลายลูก ได้แก่ เขาทุเรียน เขาฝาละมี เขาแท่น เป็นต้น ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าบริเวณเหนือวัดเขาขึ้นไป มีต้นทุเรียนจำนวนมาก จึงตั้งชื่อเป็น "วัดเขาทุเรียน" ในอดีต "หลวงพ่อปุ้ย" เป็นเจ้าอาวาส ได้ให้ญาติโยมแปรรูปไม้ ทุเรียนป่า มาทำฝากุฏิ และขณะนี้กุฏิซึ่งฝาทำมาจากไม้ทุเรียนป่าหลังนั้น ยังใช้เป็นกุฏิให้พระภิกษุสามเณร จำพรรษา มาจนถึงปัจจุบัน
  9. วัดใหญ่ทักขิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายกริมแม่น้ำนครนายก วัดใหญ่ทักขิณารามเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งกล่าวกันว่า ชาวเวียงจันทน์ได้อพยพมาเมื่อครั้งเกิดสงครามลาวกับฝรั่งเศส ชาวเวียงจันทน์พ่ายแพ้สงคราม จึงพากันอพยพ มาทางใต้มีกลุ่มหนึ่งมาตั้งวัดใหญ่ทักขิณาราม หลักแหล่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครนายก เรียกว่า บ้านใหญ่ลาวและได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2323 เรียกวัดใหญ่ลาว ในปี พ.ศ. 2484 วัดใหญ่ลาวถูกเปลี่ยนชื่อ เป็นวัดใหญ่ทักขิณารามสิ่งสำคัญในวัดใหญ่ทักขิณาราม คือ พระอุโบสถซึ่งมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10.15 เมตร สูง 10 เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ สร้างโดยฝีมือช่างชาวเวียงจันทน์ ลักษณะของพระอุโบสถแบบเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูนบานประตูเป็นไม้แกะสลัก กรอบด้านขวามือเป็นรูปยักษ์ยืนถือกระบองชูขึ้น และเท้า บั้นเอว หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม กำแพงแก้วมีซุ้มประตูโค้งเลียนแบบศิลปตะวันออก มีทหารสวมหมวกถือกระบองแต่งกายแบบยุโรป เป็นทวารบาลประตูละ2คน ด้านนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองแบบทรงเครื่อง ลักษณะเจดีย์ย่อมุม

 จากนนั้นห็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าไปเยี่ยมชมอย่างยิ่ง เช่น

 


  1. เขื่อนขุนด่านประการชล
  2. น้ำตกสาริกา
  3. อุทยานวังตะใคร้
  4. น้ำตกนางรอง
  5. น้ำตกกะอาง
  6. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  7. โรงเรียนเตรียมทหาร
  8. พุทธสถานเจ๊กเต็กลิ้ม
  9. อุทยานพระพิฆเณศวร
  10. ศาลเจ้าพ่อองครักษ์
  11. เมืองโบราณคดีบ้านดงละคร
  12. หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15

นครนายกเมืองใกล้กรุง

ประวัติ จ.นครนายก

ประวัติจังหวัดนครนายก         
          จังหวัดนครนายก  เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 107 กม. ตามถนนเลียบ คลองรังสิต สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวาราวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละคร แต่ชื่อนครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวัน ออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้น แทน 

          ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนา เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนา หรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษี ค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็น ชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า  “เมืองนา-ยก” ภายหลังจึงกลายเป็นจังหวัดนครนายก ในปัจจุบัน
          • ตราประจำจังหวัด รูปช้างชูรวงข้าว หมายถึง ในอดีต จ.นครนายกเคยมีช้างป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มีที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่จึงทำนาเป็นอาชีพหลัก

           • ดอกไม้ประจำจังหวัด:
ดอกสุพรรณิการ์ (Cochlospermum religiosum)

           • ต้นไม้ประจำจังหวัด:
สุพรรณิการ์ (Cochlospermum religiosum)

          • คำขวัญประจำจังหวัด:
นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ

จาก http://www.khaoyaizone.com